วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

อาหารภาคเหนือที่นิยม

ไส้ฮั่ว





  เครื่องปรุงน้ำเมี่ยงคำ
น้ำตาลปิ๊บ
1
กิโลกรัม
น้ำตาลทราย
1/2
กิโลกรัม
น้ำปลา
2
ช้อนโต๊ะ
เกลือ
2
ช้อนโต๊ะ
กุ้งแห้งป่น
1 1/2
ถ้วย
มะพร้าวขูดคั่วโขลกให้ละเอียด
1
ถ้วย
กะปิเผา
2
ช้อนโต๊ะ
หอมแดงเผา
7
หัว
กระเทียมเผา
3
หัว
ขิงซอย
3
ช้อนโต๊ะ
น้ำ
1
ถ้วย
 
  เครื่องเคียง
  ใบชะพลู มะพร้าวซอยคั่ว ถั่วลิสงคั่ว ขิง หอมแดง มะนาว พริกขี้หนู กุ้งแห้ง
 
  วิธีทำ
.
1โขลกหอมแดงเผา กระเทียมเผา ขิง และกะปิให้ละเอียด
2น้ำตาลใส่หม้อตั้งไฟ ใส่น้ำ 1 ถ้วย น้ำปลา เกลือ พอเดือด
3ใส่เครื่องที่โขลกไว้
4ใส่กุ้งแห้ง มะพร้าวคั่ว มะขามเปียก เคี่ยวต่อจนได้ที่




แกงโฮะ
  เครื่องปรุง
  แกงเผ็ด
2
ถ้วย
  แกงฮังเล
2
ถ้วย
  แหนมหม้อ ยีให้กระจาย
2
ถ้วย
  หน่อไม้ดองต้ม
2
ถ้วย
  แคมหมู ตัดเป็นชิ้นเล็กๆ
2
ถ้วย
  วุ้นเส้นตัดสั้น
2
ถ้วย
  ใบมะกรูดฉีก
 1/2
ถ้วย
  ตำลึง
2
ถ้วย
  ตะไคร้หั่นฝอย
1
ถ้วย
  พริกขี้หนูสด
2
ช้อนโต๊ะ
  กระเทียมสับ
3
ช้อนโต๊ะ
  น้ำมันพืช
 1/2
ถ้วย
 
วิธีทำ
กะทะตั้งไฟ ใส่น้ำมันพอร้อน
ใส่กระเทียมสับเจียวให้หอม
ใส่เครื่องทั้งหมดลงผัดจนน้ำมันแห้ง
ใส่วุ้นเส้น
ปรุงรสด้วยมะนาว น้ำปลา ตามชอบ




แกงอ่อมหมู
  เครื่องปรุง
  หมูสามชั้นหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ
2
ถ้วย
  น้ำมันพืช
1
ช้อนชา
  น้ำซุป
3
ถ้วย
  ใบมะกรูด
 
  เครื่องแกง
  พริกแห้ง
7
เม็ด
  หอมแดง
5
หัว
  กระเทียม
1
หัว
  ข่าซอย
1
ช้อนโต๊ะ
  ตะไคร้ซอย
1
ช้อนโต๊ะ
  รากผักชีซอย
1
ช้อนชา
  กะปิ
1
ช้อนชา
 
  วิธีทำ
1
โขลกเครื่องแกงให้ละเอียด
2
นำเครื่องแกงผัดกับน้ำมันให้หอม
3
ใส่หมูลงผัด เติมน้ำซุป เคี่ยวไปจนหมูเปื่อย
4
ใส่ใบมะกรูด ปรุงตามชอบ







น้ำพริกอ่อง
  เครื่องปรุง
  หมู สับละเอียด
3
ช้อนโต๊ะ
  พริกแห้งเม็ดใหญ่ ปิ้งให้หอม
7
เม็ด
  หอมแดงซอย
2
ช้อนโต๊ะ
  กระเทียม
1
หัว
  กะปิ
2
ช้อนชา
  เกลือ
1
ช้อนชา
  มะเขือเทศลูกเล็ก ซอย
2
ถ้วย
  น้ำมันพืช
3
ช้อนโต๊ะ
  น้ำซุป (น้ำต้มกระดูกหมู)
 1/2
ถ้วย
  กระเทียม
1
ช้อนโต๊ะ
 
  วิธีทำ
 
โขลกพริกแห้ง เกลือ กระเทียม หอมแดง กะปิ ให้ละเอียด
 
ใส่น้ำมันลงกะทะ พอร้อนใส่น้ำพริกลงผัด แล้วใส่หมูสับ มะเขือเทศซอย น้ำซุป
 
จากนั้นผัดให้แห้ง เป็นน้ำขลุกขลิก ชิมดู










 




ยำยอดมะขาม
  เครื่องปรุง
ยอดมะขามอ่อน
2
ถ้วย
หอมหัวใหญ่
1
ถ้วย
หอมแดงเจียว
 1/2
ถ้วย
น้ำปลา
1
ช้อนโต๊ะ
มะเขือเทศลูกใหญ่ ผ่าเป็นซีก
3
ลูก
แคบหมูหั่นละเอียด
1
ถ้วย
พริกแห้งทอด
3
เม็ด

 
  วิธีทำ
เอาเครื่องปรุงทุกอย่างคลุกเคล้าเข้าด้วยกัน ชิมดูตามชอบ








น้ำพริกหนุ่ม

  เครื่องปรุง
  พริกหนุ่มเผา
7
เม็ด
  กระเทียมเผา
2
หัว
  หอมแดงเผา
5
หัว
  ปลาร้าสับ ห่อใบตอง ปิ้ง
1
ช้อนโต๊ะ
  มะเขือเทศเผา
5
ลูก
  เกลือ
1
ช้อนชา
  ต้นหอม ผักชี หั่นหยาบ
2
ช้อนโต๊ะ

  วิธีทำ
 โขลกพริก หอมแดง กระเทียม เกลือ ให้เข้ากัน
 ใส่มะเขือเทศ โขลกให้เข้ากัน ตักใส่ถ้วย ใส่ผักชี ต้นหอม






แกงขนุน
  เครื่องปรุง
  ซี่โครงหมูอ่อน ตัดเป็นชิ้น 1.5x1.5 นิ้ว
 1/2
กิโลกรัม
  ขนุนอ่อน ตัดเป็นชิ้น 1x1 นิ้ว
1
กิโลกรัม
  ชะอม (เด็ดยอดอ่อน)
 1/2
ถ้วย
  มะเขือเทศลูกเล็ก ผ่าซีก
 1/2
ถ้วย
  ผักชีฝรั่งหั่นหยาบ
 1/2
ถ้วย
  ใบชะพลู หั่นหยาบ
 1/2
ถ้วย
 
  เครื่องแกง
  พริกแห้ง
7
เม็ด
  หอมแดง
5
หัว
  กระเทียม
1
หัว
  กะปิ
1
ช้อนชา
  ปลาร้าสับ (ปลาช่อนไม่เอาก้าง)
1
ช้อนชา
 
  วิธีทำ 
โขลกเครื่องแกงให้ละเอียด
ขนุนอ่อนที่เตรียมไว้ ต้มให้สุก พักไว้
ต้มซี่โครงหมูจนนุ่ม ใส่พริกที่โขลกไว้ ใส่ขนุนที่ต้มไว้ คนให้ทั่ว
ใส่ชะอม มะเขือเทศ ชิมดูแล้วใส่ใบชะพลู แล้วยกลงไม่ต้องต้มให้สุกมาก







 เครื่องปรุง
  หมูสันคอ บดละเอียด
1
กิโลกรัม
  ไส้หมู (ไส้เล็ก ล้างสะอาด)
 1/3
กิโลกรัม
 
  เครื่องแกง
  พริกแห้ง
5
เม็ด
  รากผักชี
2
ช้อนโต๊ะ
  ผิวมะกรูด หั่นละเอียด
1
ช้อนชา
  ใบมะกรูด หั่นฝอย
2
ช้อนโต๊ะ
  ตะไคร้ หั่นฝอย
3
ช้อนโต๊ะ
  หอมแดง
5
หัว
  กระเทียม
2
หัว
  กะปิ
2
ช้อนชา
  เกลือ
1
ช้อนชา
 
  วิธีทำ
โขลกเครื่องแกงทั้งหมดให้ละเอียด
ผสมเนื้อหมูที่บดไว้ กับเครื่องแกงให้เข้ากัน ใส่ใบมะกรูดเคล้าให้ทั่ว
บรรจุใส่ในไส่ อย่าให้แน่นนัก มัดเป็นท่อนๆ
นำไปทอดหรือปิ้งให้สุก
อาจนำหมูที่ผสมแล้ว ปั้นเป็นก้อนแล้วทอด โดยไม่บรรจุในไส้ก็ได้

วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2554

วันสงกรานต์

ประวัติวันสงกรานต์

           ในสมัยโบราณได้ถือวันสงกรานต์เป็นวันปีใหม่นั้น เนื่องจากประเทศที่อยู่ในแถบร้อนถือว่า ช่วงเวลาเริ่มต้นฤดูร้อนนั้นเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุด ด้วยว่างเว้นจาก การทำการเกษตร อีกทั้งอากาศที่หนาวเย็นก็ผ่านพ้นไปแล้ว ด้วยในช่วงฤดูหนาวนั้นเป็นช่วงที่ทุก ๆ อย่างนั้น หยุดนิ่งไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ก็หยุดผลิดอกออกผล สัตว์ทั้งหลาย ก็หยุดนิ่งนอนจำศีล ด้วยอากาศที่หนาวเย็นนั้นไม่สะดวกในการใช้ชีวิต หรือการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายนั่นเอง
วันสงกรานต์จึงเป็นประเพณีการขึ้นปีใหม่ในประเทศแถบร้อน ซึ่งแตกต่างจากประเทศแถบหนาว ดังที่กล่าวไว้ในเรื่องของวันปีใหม่ วันสงกรานต์มีทั้งหมด ๓ วันด้วยกัน ได้แก่
วันที่ ๑๓ เมษายน วันมหาสงกรานต์ หรือวันส่งท้ายปีเก่า หมายถึง ก้าวหรือย่างขึ้นครั้งใหญ่ คือ สงกรานต์ปี การที่พระอาทิตย์โคจรเข้าสู่ราศีเมษ เป็นวันทำความสะอาดใหญ่                ชำระล้างร่างกาย และจิตใจให้ใสสะอาด เริ่มมีการเล่นสาดน้ำเป็นวันแรก
วันที่ ๑๔ วันกลาง หรือวันเนา หมายถึง อยู่คือวันที่ถัดมาจากวันมหาสงกรานต์ ๑ วัน การที่พระอาทิตย์เข้ามาอยู่ในราศีเมษเรียบร้อยแล้ว เป็นวันที่มักมีการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านมากมายเช่น ขนทรายเข้าวัด ก่อพระเจดีทราย ขบวนแห่ประเพณีสงกรานต์ การแสดงทางวัฒนธรรมและมหรสพอื่นๆ … การเล่นสาดน้ำตามประเพณีไทยมักเล่นกันวันนี้มากเป็นพิเศษ
วันที่ ๑๕ เมษายน เป็นวันเถลิงศก หมายถึง วันขึ้นศกใหม่ เป็นวันทำบุญตักบาตรต้อนรับปีใหม่ ปล่อยนกปล่อยปลา อุทิศส่วนกุศลแก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว มีการรดน้ำดำหัวผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้ที่เคารพนับถือ เพื่อเป็นการขอขมาลาโทษและขอพรปีใหม่เพื่อเป็นศิริมง คลต่อชีวิต ตลอดจนจัดให้มีการสรงน้ำพระสงฆ์ พระพุทธรูป สิ่งศักดิ์สำคัญคู่บ้านคู่เมืองอีกด้วย
กิจกรรมวันสงกรานต์
  1. ทำบุญตักบาตร ทั้งนี้เพื่อให้เกิดสิริมงคลแก่ชีวิต
  2. ปล่อยนกปล่อยปลา คนไทยมีความเชื่อว่าการปล่อยนกปล่อยปลา ถือว่าเป็นการอโหสิกรรมและชำระบาปในส่วนที่ตนเป็นผู้ก่อ อีกทั้งทำให้เคราะห์ร้ายที่จะเกิดขึ้นหมดไป
  3. ให้ทานแก่ผู้ที่ขัดสน เช่น คนชรา เด็กพิการ เด็กกำพร้า เป็นต้น
  4. สรงน้ำพระพุทธรูป และสรงน้ำพระภิกษุสามเณร
  5. การรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ ได้แก่ บิดา มารดา ญาติผู้ใหญ่ และบุคคลที่มีพระคุณ การรดน้ำผู้ใหญ่ในวันสงกรานต์ด้วยต้องการขอขมาสิ่งที่อาจจะล่วงเกินผู้ใหญ่ ในบางครั้ง รวมถึงเป็นการขอพรเพื่อ เป็นสิริมงคล และข้อคิดเตือนใจแก่ตนเอง
  6. การละเล่นสาดน้ำ ประเพณีนี้ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของวันสงกรานต์เลยทีเดียว ด้วยงานฉลองวันสงกรานต์นั้นเป็นช่วง ฤดูร้อน ประเพณีเริ่มจากการที่มีการสรงน้ำพระ และรดน้ำญาติผู้ใหญ่ การเล่นสาดน้ำนั้นนิยมกันในหมู่ของหนุ่มสาว น้ำที่ใช้สาดกันนั้นจะใส่น้ำอบ น้ำหอม